ระบบหายใจ( respiratory system)
ระบบหายใจหรือระบบของการหายใจ
(respiratory
system) สิ่งที่ควรเข้าใจในลำดับแรกคือ การหายใจ (respiration)การหายใจเป็นกระบวนการในการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต
ซึ่งจะได้พลังงานจำนวนหนึ่งมาใช้ในการดำรงชีวิตกระบวนการหายใจต้องใช้เอนไซม์ (enzyme)
และแก๊สออกซิเจน ดังนั้น
กระบวนการหายใจต้องเกี่ยวข้องกับแก๊สออกซิเจนที่มีกระบวนการในการรับเข้ามาภายในร่างกาย
อวัยวะสำหรับใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ควรรู้จัก
1. สัตว์เซลล์เดียวใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการหายใจ
2. ตัวอ่อนของแมลงปอช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำใช้เหงือกในการหายใจ
3. ช่วงระยะตัวไม่เต็มวัยของกบที่อยู่ในน้ำจะใช้เหงือก ในการหายใจ
4. หอยโข่งใช้ปอดในการหายใจ
5. แมลงใช้ท่อหรือหลอดลมกระจายทั่วร่างกายเป็นอวัยวะหายใจ
6. หนูใช้ปอดในการหายใจ
7. ปลาใช้เหงือกในการหายใจ
8. ซาลามานเดอร์ (salamander) ใช้เหงือกในการหายใจ
9. นกใช้ปอดในการหายใจ
10. ค้างคาวใช้ปอดในการหายใจ
11. สุนัขใช้ปอดในการหายใจ
12. งูใช้ปอดในการหายใจ
อวัยวะสำหรับการหายใจ (respiratory organ) ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่าสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกจะใช้หลอดลม (trachea) ใช้ปอด (lung) พวกที่ใช้หลอดลมจะเป็นพวกแมลงต่างๆ เป็นส่วนมาก พวกที่ใช้ปอดจะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อวัยวะสำหรับใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ควรรู้จัก
1. สัตว์เซลล์เดียวใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการหายใจ
2. ตัวอ่อนของแมลงปอช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำใช้เหงือกในการหายใจ
3. ช่วงระยะตัวไม่เต็มวัยของกบที่อยู่ในน้ำจะใช้เหงือก ในการหายใจ
4. หอยโข่งใช้ปอดในการหายใจ
5. แมลงใช้ท่อหรือหลอดลมกระจายทั่วร่างกายเป็นอวัยวะหายใจ
6. หนูใช้ปอดในการหายใจ
7. ปลาใช้เหงือกในการหายใจ
8. ซาลามานเดอร์ (salamander) ใช้เหงือกในการหายใจ
9. นกใช้ปอดในการหายใจ
10. ค้างคาวใช้ปอดในการหายใจ
11. สุนัขใช้ปอดในการหายใจ
12. งูใช้ปอดในการหายใจ
อวัยวะสำหรับการหายใจ (respiratory organ) ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่าสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกจะใช้หลอดลม (trachea) ใช้ปอด (lung) พวกที่ใช้หลอดลมจะเป็นพวกแมลงต่างๆ เป็นส่วนมาก พวกที่ใช้ปอดจะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ระบบขับถ่าย
กระบวนการต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย นอกจากจะให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้วยังให้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ที่ต่อร่างกายไม่ต้องการ
ซึ่งรวมกันเรียกว่า ของเสีย
อีกด้วย ของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายมีทั้งที่เป็นของเหลว
ของแข็ง และแก๊ส ของเสียเหล่านี้นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว บางอย่างยังเป็นพิษอีกด้วย ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องกำจัดออกภายนอก
นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ร่างกายสามารถกำจัดของเสียเหล่านี้ออกจากร่างกายได้ทางใดบ้าง
ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดต่อไป
การกำจัดของเสียทางไต
ของเสียต่าง ๆ
ที่ได้จากกระบวนการในร่างกายจะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดจากนั้นจะลำเลียงของเสียเหล่านั้นมายังไต
เพื่อกรองเอาของเสียที่มีอยู่ในเลือดและขับออกมาในรูปของปัสสาวะ
ไต (
Kidney ) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว
มีสีแดงแกมน้ำตาลและเป็นมันเงาเนื่องจากมีเยื่อหุ้มบาง ๆ
ไตของคนเรามีอยู่ 2 ข้าง
อยู่ข้างซ้ายและข้างขวาข้างละ 1 อัน
บริเวณด้านหลังใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว ขนาดของไตโดยประมาณยาว 10 เซนติเมตร
กว้าง 6 เซนติเมตร
และหนา 3 เซนติเมตร
บริเวณตรงกลางส่วนที่เว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อผ่าไตออกเป็น 2 ซีก
จะพบว่า โครงสร้างของไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือชั้นนอก เรียกว่า
คอร์แทกซ์ ( Cortex ) และชั้นใน เรียกว่า
เมดุลา ( Medulla )ภายในไตประกอบด้วยหน่วยไต Nephron เล็ก ๆ
จำนวนมากมาย มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่และมีหลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกกระจายเต็มไปหมด
ระบบหมุนเวียนโลหิต
หัวใจ (heart) ทําหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสูหัวใจ หัวใจประกอบด้วยกล้าเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งห้องออกเป็นห้องบน (atrium) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2ห้อง
หัวใจห้องบนจะเล็กกว่าห้องล่าง ระหว่าง
หัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
หัวใจห้องล่างซ้ายจะมี ผนังหนาที่สุด
เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด
การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ
ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
และไหลกลับคืนสู่หัวใจ
โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิดผนังทรวงอก
แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า
เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา
เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ
( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง
**
** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง
ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4
ห้อง **
ในร่างกายของมนุษย์ ระบบการหมุนเวียนของเลือดประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ดังนั้นระบบหมุนเวียนเลือดของคนเราจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ เลือด เส้นเลือด และ หัวใจ